บทความ

การอ่านนวนิยาย

รูปภาพ
ชื่อเรื่อง : คุณชายรัชชานนท์ ผู้แต่ง : ซ่อนกลิ่น เรื่องย่อ           เมื่อ ม.ร.ว.รัชชานนท์ จุฑาเทพ หรือคุณชายเล็ก หนีการดูตัวที่หม่อมย่าเอียดต้องการจับคู่กับ ม.ล.ศินีนุช เทวพรหม เพื่อทำตามพระประสงค์ของหม่อมเจ้าวิชชากรที่ต้องการดองกับเทวพรหมให้จงได้ รัชชานนท์จึงร่วมวางแผนกับรณพีร์ น้องชายคู่หูคู่เที่ยว หนีการดูตัวกับศินีนุชได้อย่างเฉียดฉิว โดยรีบหนีไปรับตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิศวกรรมโยธาประจำที่จังหวัดหนองคายและออกเดินทางไปโดยไม่บอกใคร การไปของรัชชานนท์ทำให้ทุกคนที่วังจุฑาเทพวุ่นวายกันไปหมด          ที่หนองคายรัชชานนท์ได้ช่วยจันทา สาวบ้านป่าลูกสาวของพรานเจ้ยจากการข่มเหงของทหารเวียงพูคำ รัชชานนท์เป็นขาลุยชอบเดินป่าถ่ายรูปจึงขอให้พรานเจ้ยนำทางเที่ยวในป่า โดยมีจันทาร่วมเดินทางไปด้วย ซึ่งไม่ได้รู้เลยว่าการเดินทางเข้าป่าครั้งนี้ทำให้ชีวิตของรัชชานนท์เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อต้องเจอกับกลุ่มทหารเวียงพูคำตามมาแก้แค้น ทั้งจันทาและรัชชานนท์ถูกยิงบาดเจ็บ ส่วนพรานเจ้ยปกป้องลูกสาวจนตัวตาย แต่ก่อนหน้านั้นได้ให้สร้อยรูปพระจันทร์แก่จันทาไว้ตามหาพ่อแม่ที่แท้จริงของเธอรัชชานนท์และจันทาร

บทความ

อ้างอิงจาก ชื่อเรื่อง สตรีกับความความ ผู้แต่ง แพทย์หญิงสุพัฒนา เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา http://www.jvkk.go.th/research/article/detail.asp?code=4        ผู้หญิงจำนวนมากคิดว่าตัวเองเกิดมาไม่สวย ไม่มีความงามในตัวเอง แล้วคิดน้อยใจในโชคชะตา และในขณะเดียวกันผู้หญิงจำนวนมากเข้าใจผิดว่าตนเองเป็นคนสวยคนงามเพราะเกิดมามีหน้าตาสวย หุ่นดี แท้จริงแล้ว ผู้หญิงที่ไม่สวยอาจจะงามได้ส่วนผู้หญิงที่สวยอาจจะไม่งามก็เป็นได้       สมัยนี้ความสวยสามารถปรุงแต่งขึ้นมาเองได้ด้วยเครื่องสำอาง ผู้หญิงจมูกเบนก็เฉดดิ้งให้มีจมูกขึ้นมาได้ ทั้งนี้ เพราะคำว่า "งาม" เรามักจะตีความหมายโดยรวม คือ รวมถึงบุคลิกภาพทั้งหมด นับตั้งแต่รูปลักษณ์ภายนอก กิริยามารยาท วาจา สีหน้า แววตา การแสดงออกทางอารมณ์ ฯลฯ เรามาดูกันว่าผู้หญิงจะมีวิธึการช่วยให้ตนเองดูงามได้อย่างไร 1. ปรุงแต่งภายนอก - การแต่งกาย ผู้หญิงคอสั้นไม่ควรสวมเสื้อคอตั้ง คนอ้วนไม่ควรสวมเสื้อดอกใหญ่เลอะเทอะ หรือมีลวดลายทางขวางของลำตัว คนเอวใหญ่ไม่ควรคาดเข็มขัด และจะทำให้เราดูอวบอ้วนมากกว่าเดิม - ความสะอาด ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนเราควรอาบน้ำ วัน

คำถาม

จงบอกความแตกต่างระหว่างรหัสแอสกี กับรหัสเอบซิดิก

งานนำเสนอ

คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร • ข้อมูลที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ (accuracy) ข้อมูลจะมีความถูกต้องและเชื่อถืได้มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นกับวิธีการที่ใช้ในการควบคุมข้อมูลนำเข้า และการควบคุมการประมวลผลการควบคุมข้อมูลนำเข้าเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าข้อมูลนำเข้ามีความถูกต้องเชื่อถือได้ • ข้อมูลตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (relevancy) ได้แก่ การเก็บเฉพาะข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการเท่านั้น ไม่ควร เก็บข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นหรือไม่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน เพราะจะทำให้เสียเวลาและเสียเนื้อที่ในหน่วยเก็บข้อมูล แต่ทั้งนี้ข้อมูลที่เก็บจะต้องมีความครบถ้วนสมบูรณ์ด้วย • ข้อมูลมีความทันสมัย (timeliness) ข้อมูลที่ดีนั้นนอกจากจะเป็นข้อมูลที่มีความถูกต้องเชื่อถือได้แล้วจะ ต้องเป็นข้อมูลที่ทันสมัย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำเอาผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ได้ทันเวลา นั่นคือจะต้องเก็บข้อมูลได้รวดเร็วเพื่อทันความต้องการของผู้ใช้

แนวทางการดำเนินการให้ได้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการควรเริ่มจากขั้นตอนใด อย่างไร

 การจัดทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การ รวบรวม  และตรวจสอบข้อมูล การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ และการดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน ดังต่อไปนี้             ก.    การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล                     1)   การเก็บรวบรวมข้อมูล       เป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก และต้องเก็บให้ได้อย่างทันเวลา เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ข้อมูลประวัติบุคลากร ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การอ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง การตรวจใบลงทะเบียนที่มีการฝนดินสอดำในตำแหน่งต่าง ๆ เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นกัน                     2)   การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบต้องมีความเชื่อถือได้ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข การตรวจสอบข้อมูลมีหลายวิธี เช่น การใช้ผู้ป้อนข้อมูลสองคนป้อนข้อมูลชุดเดียวกันเข้าคอมพิวเตอร์แล้วเปรียบเทียบกัน   

การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีการดำเนินการอย่างไร

              การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ                 อาจประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้       1. การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียน และแฟ้มลงทะเบียน สมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองมีการแบ่งหมวดสินค้าและบริการเพื่อความสะดวกในการค้นหา                 2. การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ ทำให้ค้นหาได้ง่าย                 3. การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่น สถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น                 4. การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำ